วิธีทดสอบการตรวจจับควัน

 


    การทดสอบความไวในการตรวจจับควันด้วยอุปกรณ์ทดสอบ ในการตรวจค่าการตรวจจับสูงสุดและต่ำสุดตามความสามารของอุปกรณ์ภายใต้ความเร็วลมรวมถึงทิศทางของควันไฟตามค่าที่กำหนด เพื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควันหลังจากการติดตั้งไปแล้ว โดยมีวิธีการดังนี้

➤ ทำการทดสอบภายใต้อุณหภูมิระหว่าง 20-26 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 30-70% และความดันอากาศ 93.3 กิโลปาสคาล
➤ การทดสอบด้วยละอองควันที่ใช้ในการทดสอบ ต้องทำการป้อนเข้ากล่องตรวจจับควันแบบต่อเนื่องจนกว่าอุปกรณ์จะแสดงสถานะตรวจจับได้หรือมีการแจ้งเหตุเกิดขึ้น
โดยการทดสอบแต่ละครั้งต้องทำการระบายอากาศให้กล่องจนกว่าอุปกรณ์จะกลับไปแสดงสถานะปกติ และมีการไหลของอากาศอยู่ในระดับเสถียรไม่น้อยกว่า 30 วินาที
ก่อนทำการทดสอบอีกครั้ง
➤ การทดสอบในห้องทดสอบ อุปกรณ์ตรวจจับควันต้องปรับค่าไว้ให้ต่ำที่สุด หลังจากที่จุดเชื้อเพลิงแล้วให้ทำการจับเวลา เมื่อเครื่องเริ่มส่งสัญญาณ
แจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 วินาที ซึ่งการประเมินผลการทดสอบคือ อุปกรณ์ตรวจจับควันแต่ละตัวต้องทำงานในช่วงความไวตามที่กำหนด

ข้อสรุป

    หลังจากการตรวจสอบสภาพการใช้งานและการทดสอบการทำงานของระบบตรวจจับควันแล้ว พบว่าอุปกรณ์มีการชำรุดหรือไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบที่กล่าวถึงข้างต้น อุปกรณ์ Smoke Detector ควรได้รับการเปลี่ยนใหม่ เพื่อติดตั้งทดแทนอุปกรณ์เดิมที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพ

  เนื่องจากการใช้งานอุปกรณ์ Smoke Detector ที่เสื่อมสภาพไปแล้ว อาจมีการทำงานที่ผิดพลาดได้ (False Alarm) ส่งผลให้ระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ทำงานได้อย่างผิดปกติ และเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้อุปกรณ์ตรวจจับควันก็อาจจะไม่ทำงานจนทำให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินได้



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาของถังควบคุมแรงดัน (Pressure Tank)

ปัญหาระบบน้ำในคอนโด

มาทำความรู้จักกับ Booster Pump (ปั๊มน้ำเพิ่มแรงดัน) กัน