ประโยชน์ของถุงยางไดอะแฟรม

ถุงยางไดอะแฟรมเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการใช้งานควบคุมไปกับถังควบคุมแรงดัน เนื่องจากถุงยางไดอะแฟรมเป็นตัวที่ช่วยกักเก็บน้ำไว้ใช้งาน คุณสมบัติหลักของถุงยางไดอะแฟรมจะต้องมีความยืดหยุ่นสามารถหดหรือขยายตัวได้ สามารถทนความร้อน สามารถทนต่อสารเคมีได้ สามารถทนกรด-ด่างได้ แต่เมื่อใช้งานไปได้ประมาณ 2-3ปี จะต้องทำการเปลี่ยนถุงยางไดอะแฟรมใหม่เพราะถุงยางไดอะแฟรมนั้นมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างจำกัด
วัสดุที่จะนำมาใช้ผลิตถุงยางไดอะแฟรม มีด้วยกันทั้งหมด 4 แบบ
1.Butyl เป็นวัสดุที่ดี มีมาตรฐานที่สุด สามารถกักเก็บอากาศได้ดี มีความยืดหยุ่นได้สูง สามารถใช้งานกับน้ำดื่มได้ ได้รับมาตรฐาน NSF/ANSI จากประเทศสหรัฐอเมริกา ขอยกตัวอย่างถังควบคุมแรงดันที่ใช้ถุงยางไดอะแฟรมแบบ Butyl จะเป็นยี่ห้อ Zilmet
2.EPDM เป็นวัสดุที่มีคุณภาพ มีความยืดหยุ่นสูงกว่ายางสังเคราะห์กว่าชนิดอื่นๆ สามารถใช้งานกับน้ำใช้ ขอยกตัวอย่างถังควบคุมแรงดันที่ใช้ถุงยางไดอะแฟรมแบบ EPDM จะเป็นยี่ห้อ Bauman
3.Semi EPDM เป็นวัสดุที่เป็นยางกึ่งสังเคราะห์ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีถุงยางไดอะแฟรมประเภทนี้จำหน่าย
4.Natural rubber เป็นวัสดุที่ผลิตมาจากยางธรรมชาติ ทำให้อายุการใช้งานสั้นกว่าชนิดอื่นๆ จึงไม่แนะนำให้ใช้ถุงยางไดอะแฟรมประเภทนี้
วิธีการเปลี่ยนถุงยางไดอะแฟรม เริ่มที่เติมลมเข้าไปที่ถังแรงดันจะต้องดูแรงดันในการเริ่มการทำงานของปั๊มว่าจะให้เริ่ม Start อยู่ที่กี่บาร์และตัดการทำงานที่กี่บ้าง โดยส่วนมากแล้วจะยึดจากแรงดันที่เริ่มเป็นหลัก ทำการเช็คถุงยางไดอะแฟรมว่ามีการฉีดขาดหรือมั๊ย มีจุดน้ำที่รั่วไหลออกมาหรือเปล่า หากมีจุดชำรุดให้ทำการเปลี่ยนถุงยางไดอะแฟรมชนิดแบบเต็มใบเลย เมื่อทำการเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นทำการตรวจสอบสภาพถังควบคุมแรงดันให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อเป็นการยืดอายุถุงยางไดอะแฟรมและถังควบคุมแรงดันให้สามารถใช้งานให้นานขึ้นจะต้องมีวิธีดูแลรักษาให้ถูกต้องถูกวิธีเพื่อที่จะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายให้ส่วนตรงนี้ได้หรือสอบถามเข้ามาที่บริษัท เมคคานิก้า จำกัด เราได้เลยนะคะ เรามีอะไหล่ถุงยางไดอะแฟรมจำหน่ายหรือหากต้องการถังควบคุมแรงดันเรามีจำหน่ายเช่นเดียวกันค่ะ
สามารถติดต่อสอบถามกันเข้ามาได้เลยที่
Hotline 02-011-1000, 02-615-7030
088-008-2310, 088-227-6541
www.mechanika.co.th


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาของถังควบคุมแรงดัน (Pressure Tank)

ปัญหาระบบน้ำในคอนโด

มาทำความรู้จักกับ Booster Pump (ปั๊มน้ำเพิ่มแรงดัน) กัน