วิธีการเลือกปั๊มลม


วิธีการเลือกปั๊มลม

      ปั๊มลม (Air Compressor) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้กำเนิดแรงดันลม โดยมีส่วนประกอบหลักๆ 3 ส่วน ได้แก่ 1.หัวปั๊มลม 2.ถังเก็บลม 3.เครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer)
วิธีการทำงานก็คือ การที่หัวปั๊มลม จะอัดลมเก็บไว้ในถังเก็บลม โดยมีมอเตอร์เป็นตัวต้นกำลังขับเคลื่อนเพื่อให้การทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
วิธีการเลือกปั๊มลม
1.หัวปั๊มลมควรผลิตด้วยวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงและคุณภาพที่ดี
2.มีความคงทนต่ออุณหภูมิและการใช้งาน
3.เกจ์ความดันควรผลิตจากสแตนเลสเพื่อป้องกันสนิม ป้องกันแรงสั่นสะเทือนเพื่อช่วยทำให้การใช้งานทนทานมากยิ่งขึ้น
4.ระบบตัดอัตโนมัติเมื่อมอเตอร์ใช้กระแสสูงผิดปกติ เพื่อป้องกันความปลอดภัยแก่ตัวเครื่องและผู้ใช้งาน
5.เคลือบสีกันสนิมทั้งด้านในและด้านนอก
การติดตั้งปั๊มลม
1.ควรตรวจสอบสภาพปั๊มลมให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน หากมีจุดชำรุดตรงบริเวณใดบริเวณหนึ่งต้องทำการแก้ไขก่อนที่จะทำการติดตั้งเครื่อง
2.ควรวางปั๊มลมให้มีระยะห่างจากกำแพงอย่างน้อย 15 เซนติเมตรเพื่อสะดวกในการถอดหรือประกอบอะไหล่
3.ควรวางปั๊มลมในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรมีฝุ่นละอองและมีความร้อนชื้น

การดูแลบำรุงรักษาปั๊มลม ควรสังเกตฟังเสียงของปั๊มลมอยู่ประจำ หากมีเสียงที่ผิดปกติต้องหยุดการทำงานของปั๊มลมทันทีเพื่อหาจุดที่ต้องแก้ไข และหมั่นตรวจสอบทำความสะอาดปั๊มลมอยู่เสมอเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของปั๊มลมให้ยาวนานยิ่งขึ้น

ยี่ห้อของปั๊มลมที่บริษัท เมคคานิก้า จำกัด ที่มีจำหน่าย
1.ยี่ห้อ GAST ระบบ Oil Free Piston เป็นรุ่นแบบลูกสูบที่ไม่ใช้น้ำมัน มีแค่มอเตอร์อย่างเดียว ให้เสียงที่เงียบ นิยมใช้ในงานทันตกรรม , ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ หรือใช้ในระบบดับเพลิง เป็นต้น
2.ยี่ห้อ JUN-AIR มีทั้งระบบที่ใช้น้ำมันและไม่ใช้น้ำมัน ใน Set มีทั้งมอเตอร์และถังเก็บลมพร้อมใช้งานได้เลย ทำลมสูงสุดได้ 8 บาร์
3.ยี่ห้อ Medi AIR มีถังที่ใหญ่ ให้เสียงเงียบ มีแรงม้าที่เยอะกว่า ทำลมสูงสุดได้ 8 บาร์ หากต้องการแรงดันสูงๆ มีเป็นแบบ Scroll Air Pump ที่สามารถทำลมได้ 10 บาร์ เหมาะสำหรับใช้ในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ ใช้ในระบบดับเพลิง เป้นต้นหรือ งานที่ต้องการ Pressure สูงๆ เป็นต้น

หากสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Hotline 02-011-1000, 02-615-7030
088-008-2310, 088-227-6541
Line ID : @vacuumpump
www.mechanika.co.th



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาของถังควบคุมแรงดัน (Pressure Tank)

ปัญหาระบบน้ำในคอนโด

มาทำความรู้จักกับ Booster Pump (ปั๊มน้ำเพิ่มแรงดัน) กัน