เครื่องเติมอากาศแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร

เครื่องเติมอากาศที่ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย 

ระบบบำบัดน้ำเสียในปัจจุบันจะนิยมบำบัดน้ำเสียโดยการใช้จุลินทรีย์ แบบใช้อ๊อกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ดังนั้นต้องมีเครื่องเติมอากาศเพื่อเติมอากาศลงไปในถังบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเครื่องเติมอากาศที่ใช้ในปัจจุบันมีอยู่หลายแบบด้วยกัน เช่น 

1. AIR PUMPS 
2. THREE LOBES BLOWER
3. REGENERATIVE BLOWER
4. SUBMERSIBLE AERATOR OR SUBMERSIBLE EJECTOR





ซึ่งเครื่องเติมอากาศแต่ละชนิดก็มีจุดประสงค์ และจุดเด่นของการใช้งานแต่ต่างกันออกไปจะอธิบายการทำงานของระบบดังต่อไปนี้

1. AIR PUMPS (HIBLOW ) คือ เครื่องเติมอากาศที่สามารถผลิตลมได้ตั้งแต่ 10 – 4,250 ลิตรต่อนาที โดยยี่ห้อที่นิยม ได้แก่ HIBLOW ผลิตจากประเทศ ญี่ปุ่น โดยมีหลักการทำงานของเครื่องแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
     1.1 Double Diaphragm คือ หลักการทำงานของแผ่น Diaphragm ในการผลิตลมซึ่งจะสามารถผลิตลมได้สูงสุดไม่เกิน 200 ลิตรต่อนาที ที่แรงดัน
2 เมตรน้ำ ในการทำงานแบบนี้จะทำให้ลมออกมาสม่ำเสมอ และใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องเติมอากาศแบบอื่นๆ
     1.2 Rotary Vane Type คือ หลักการทำงานของการหมุนใบพัด (Vane) ในการผลิตลมออก ซึ่งจะสามารถผลิตลมได้สูงสุดไม่เกิน 4250 ลิตรต่อนาที ที่แรงดัน 2 เมตรน้ำ ในการทำงานแบบนี้จะทำให้ลมออกมาสม่ำเสมอ และใช้รอบความเร็วต่ำกว่า THREE BLOWER ดังนั้นเสียงที่ออกมาจะเบา และอายุการใช้งานของเครื่องก็จะยาวนานกว่า

2. THREE LOBES BLOWER (LONGTECH or TSURUMI) คือ เครื่องเติมอากาศที่สามารถผลิตลมได้ตั้งแต่ 270 – 191,300 ลิตรต่อนาที โดยมีหลักการทำงานของเครื่องแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
      2.1 THREE LOBES BLOWER TYPE SPUR ROTOR คือ เครื่องเติมอากาศที่ใช้หลักการทำงานของ THREE LOBES แบบตรง จำนวน 2 อัน ทำการหมุนเพื่อที่จะผลิตลมออกมา จะทำการดูแลรักษาง่ายกว่าเครื่องเติมอากาศแบบ SUBMERSIBLE 
      2.2 THREE LOBES BLOWER TYPE HELICAL ROTOR คือ เครื่องเติมอากาศที่ใช้หลักการทำงานของ THREE LOBES แบบเกลียว จำนวน 2 อัน ทำการหมุนเพื่อที่จะผลิตลมออกมา เสียงที่ออกมาจะเบากว่า THREE LOBES แบบตรง

3. REGENERATIVE BLOWER (GAST) คือ เครื่องเติมอากาศที่สามารถผลิตลมได้ตั้งแต่ 650 – 10,200 ลิตรต่อนาที โดยมีหลักการทำงานหมุนใบพัด ซึ่งใบพัดจะมีซีกหลายๆ อัน เพื่อทำการส่งลมต่อระหว่างซีกใบพัดเพื่อที่เพิ่มแรงดันของลม จะได้ปริมาณลมที่มากในขนาดที่มอเตอร์เท่ากันกับเครื่องเติมอากาศแบบอื่นๆ 

4. SUBMERSIBLE AERATOR or SUBMERSIBLE EJECTOR (TSURUMI) คือ เครื่องเติมอากาศที่สามารถผลิตลมได้ตั้งแต่ 133 – 6,666 ลิตรต่อนาที โดยต้องแช่ตัวปั้มลงไปในน้ำ และทำการดูดอากาศจากด้านนอกบ่อลงไป ซึ่งจะทำการดูแลรักษายากที่สุด และโอกาสเสียมากที่สุด


สนใจเครื่องเติมอากาศทุกชนิด ติดต่อได้ที่ 0-2615-7030

http://www.mechanika.co.th
E-mail : marketing@mechanika.co.th


ความคิดเห็น

  1. การใช้แบบไหนใช้ได้นานกว่าครับ

    ตอบลบ
  2. แบบใหนใช้ทนกว่ากันครับ

    ตอบลบ
  3. ขึ้นอยู่กับการใช้งานค่ะ นำไปใช้ในระบบอะไรคะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาของถังควบคุมแรงดัน (Pressure Tank)

ปัญหาระบบน้ำในคอนโด

มาทำความรู้จักกับ Booster Pump (ปั๊มน้ำเพิ่มแรงดัน) กัน